ยาจีนสามารถรับมือโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาได้ดี และยังจะมีบทบาทต่อไปในการต้านโอมิครอน

ศ.จางจ้งเต๋อกล่าวว่าการใช้ยาจีนในเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าสามารถรับมือโควิด-19 ได้ ดังการใช้กับสายพันธุ์เดลต้าในมณฑลกวางเจาเมื่อเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา   จากผู้ป่วยในท้องถิ่น 166 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับยาจีนอย่างเดียวในการรักษา 118 ราย คิดเป็นร้อยละมากกว่า 71% สามารถหยุดยั้งอาการของผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเป็นอาการหนักไม่ให้พัฒนาต่อไปจำนวน 57 ราย     จากผลการใช้ที่ผ่านมายาจีนจึงยังมีบทบาทที่สำคัญในการการรับมือโควิดสายพันธุ์ใหม่ต่อไป    

(เรียบเรียงจากที่ประชุมแถลงข่าวของทบวงการแพทย์แผนจีนแห่งชาติที่นครกวางเจา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564   โดยศ.จากจ้งเต๋อ  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนมณฑลกวางตุ้ง  รองหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญกองอำนวยการป้องกันรักษาปอดอักเสบไวรัสสายพันธุ์ใหม่แห่งทบวงการแพทย์แผนจีน   ศ.จางเว่ยตง  จากมหาวิทยาลัยแพทย์ทหารกองทัพเรือ   และหลี่อวี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทบวงการแพทย์แผนจีนแห่งชาติ)

อาการของผู้ป่วยโอมิครอน

อาการแสดงทางคลินิกได้แก่ ป็นไข้ กลัวหนาว  ปากแห้ง อ่อนเพลีย ท้องอืด เบื่ออาหาร เป็นหลัก (หมายเหตุผู้เรียบเรียง:  รายงานล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขของไทยแจ้งว่าอาการไข้พบไม่มากนักราว 20%)  ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะมีอาการทางพร่องเฉียบพลัน ได้แก่  หายใจหอบ ออกซิเจนในเลือดต่ำ  เหงื่อออกไม่หยุด ซึ่งพบในสัดส่วนค่อนข้างสูง

ลักษณะของโรค

คณะผู้เชี่ยวชาญได้เปิดการประชุมศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนกันประมวลสรุปได้ว่า    การระบาดของโควิดระลอกนี้  เหตุแห่งโรคและกลไกการเกิดโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง   แต่มีอาการแสดงที่แตกต่างกันไปบ้างตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และลักษณะของอาหารการกินที่ต่างกัน    ภาวะร้อนกับชื้นที่พบจึงมีความหนักเบาต่างกัน  และเกิดภาวะเย็น ภาวะร้อน ภาวะแห้ง ภาวะเลือดคั่งร่วมด้วย 

ดังผู้ป่วยที่พบในเซี่ยเหมิน ผู่เถียน มณฑลฝูเจี้ยน มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียนค่อนข้างเด่นชัด  กล่าวคือภาวะชื้นเด่น  ในขณะที่ผู้ป่วยที่พบในมณฑลกานซู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ   ผู้ป่วยมีอาการ ไอแห้ง คอแห้ง ปากแห้ง คันคอ  เป็นกลุ่มอาการความแห้งรุกรานปอดเด่นชัด  

หลักการรักษา  จัดวางการรักษาให้สอดคล้องกับคน สถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน

จากความแตกต่างของกลุ่มอาการที่พบ   การจัดวางการรักษาจึงความยืดหลักพิจารณาตามรูปธรรมของคน สถานที่ และอากาศ   โดยอาศัยพื้นฐานจาก“ยาสามชนิดสามตำรับ” ในแนวทางการวินิจฉัยรักษาแห่งชาติฉบับที่ 8    แล้วทำการวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ(เปี้ยนเจิ้ง) เพื่อวางการรักษาให้สอดคล้อง    ในผู้ป่วยที่มีอาการหนักให้ใช้เหรินเซินบำรุงเจิ้งชี่แต่แรกและใช้ตลอดทั้งกระบวนการของโรค   ให้ความสำคัญกับการเสริมปอดกับลำไส้ไปพร้อมกัน  ปรับปรุงการทำงานของลำไส้ค้ำจุนปอด    กรณีมีอาการท้องผูกให้ใช้ต้าหวงในปริมาณสูงเพื่อทำให้ขับถ่ายอุจจาระได้คล่องไว้

กลไกการออกฤทธิ์ของยาจีน
ศ.จางเว่ยตงจากมหาวิทยาลัยแพทย์ทหารเรือได้รายงานว่า   จากงานวิจัยในโครงการต่างๆ โดยความสนับสนุนของรัฐบาล  ได้มีการเปิดขยายงานวิจัยจำนวนมาก  ทำการวิจัยค้นคว้ากลไกการรักษาของยาจีนในระดับโมเลกุล เซลล์ และในสัตว์ทดลอง  โดยใช้วิธีการที่ทันสมัยต่างๆ    ในผู้ป่วยที่มีอาการเบาพบว่ายาจีนมีประสิทธิผลในการรักษาต่ออาการไอ เป็นไข้ อ่อนเพลียเป็นอย่างดี     กลไกที่อยู่เบื้องหลังคืออะไร   การวิจัยก้าวไปอีกขั้นหนึ่งพบว่า  ในกลุ่มอาการเบายาสามชนิดสามตำรับสามารถยกภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สูงขึ้น

ในกลุ่มอาการหนัก  สาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากเกิน  เป็นภาวะที่เรียกว่าพายุไซโตไคน์    ในกลุ่มอาการนี้ยาจีนมีบทบาทปรับปรุงภาวะพายุจากการอักเสบดีมาก   สามารถระงับแฟคเตอร์ที่เกี่ยวกับการอักเสบที่ถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันมากเกินจึงมีผลบรรเทาอาการจากพายุไซโตไคน์นี้   จากการวิจัยพบส่วนประกอบออกฤทธิ์ที่มีบทบาทที่ดีในด้านนี้  เช่น glycyrrhizic acid ในกานเฉ่า(ชะเอมเทศ)  ephedrine ในหมาหวง   Baicalin และ wogonoside ในหวงฉิน เป็นต้น

จาก  http://news.china.com.cn/2021-12/17/content_77935863.htm

บทความที่เกี่ยวข้อง

1. ย่าจีน 3 ชนิด 3 ตำรับ 

2. ยาตำรับกลาง "ชิงเฟ่ยผายตู๋ทัง" การวิจัยทางเภสัชวิทยา

3. ยาจีนกับการรับมือโควิดสายพันธุ์เดลต้า บทเรียนจากกวางเจา

4. ประเมินบทบาทของยาจีนโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ศ.จงหนานซาน

5. ลำดับการใช้ยาจีนรับมือการระบาดของโควิดครั้งแรกที่อู่ฮั่น โดย ศ.จางปั๋วหลี่

6. โรคโควิด-19 ทางแพทย์แผนจีนจัดเป็นโรคระบาดเย็นชื้น (หานซืออี้)